ไวรัสโคโรนา : โควิด-19 เรื่องอะไรบ้างที่เรายังไม่รู้แน่ชัด

ไวรัสโคโรนา : โควิด-19 เรื่องอะไรบ้างที่เรายังไม่รู้แน่ชัด – BBCไทย

เจมส์ กัลลาเกอร์

ผู้สื่อข่าวสุขภาพและวิทยาศาสตร์ บีบีซีนิวส์

วิกฤตการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ที่เกิดขึ้นในหลายประเทศทั่วโลกดูเหมือนจะกินเวลายาวนานชั่วนิรันดร์ แต่อันที่จริงแล้วโลกของเราเพิ่งรู้จักกับไวรัสชนิดนี้เมื่อเดือน ธ.ค. ปีที่แล้วนี้เอง

แม้จะมีความพยายามจากนักวิทยาศาสตร์ทั่วโลกที่ค้นหาคำอธิบายเกี่ยวกับโรคนี้ แต่ยังมีอีกหลายประเด็นที่นักวิทยาศาสตรยังไม่อาจทำความเข้าใจได้ ขณะนี้เองที่เรากำลังเป็นส่วนหนึ่งของการค้นคว้าทดลองที่ใหญ่ระดับโลกเพื่อหาคำตอบเกี่ยวกับโรคนี้

นี่คือคำถามใหญ่ ๆ บางคำถาม

ไวรัส

1. มีคนติดเชื้อทั่วโลกเท่าไรกันแน่

affaliate-2

นี่เป็นคำถามพื้นฐานที่สุด และก็เป็นคำถามที่สำคัญที่สุดด้วยเช่นกัน

จนถึงขณะนี้มีผู้ติดเชื้อยืนยันแล้วหลายแสนคนทั่วโลก (ข้อมูล ณ วันที่ 29 มี.ค.2563 จากการแถลงของศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 (ศบค.) ของไทย ระบุว่าทั่วโลกมีผู้ติดเชื้อจำนวน 645,158 ราย) แต่นี่เป็นเพียงส่วนหนึ่งของจำนวนผู้ติดเชื้อทั้งหมดเท่านั้น ตัวเลขดังกล่าวยังคงมีความสับสน สืบเนื่องจากผู้ติดเชื้อบางรายไม่มีอาการป่วยออกมาให้เห็น แม้ว่าจะติดเชื้อแล้วก็ตาม

อย่างไรก็ตาม การพัฒนาชุดตรวจภูมิคุ้มกันจะช่วยให้นักวิจัยสามารถระบุได้ว่าใครมีเชื้อไวรัสอยู่ในร่างกายบ้าง หลังจากนั้นจึงจะสามารถประเมินการระบาดได้ครอบคลุมยิ่งขึ้น

อาการ

2. รุนแรงจนถึงขั้นเสียชีวิตมากน้อยแค่ไหน

affaliate-2

คำตอบนี้เราจะรู้ก็ต่อเมื่อทราบจำนวนผู้ติดเชื้อทั้งหมด เป็นไปไม่ได้เลยที่เราจะทราบอัตราการเสียชีวิตที่แน่ชัด จากตัวเลข ณ ขณะนี้ อัตราผู้เสียชีวิตประมาณการณ์อยู่ที่ 1 เปอร์เซ็นต์ จากจำนวนผู้ติดเชื้อทั้งหมด แต่ถ้านับจำนวนผู้ติดเชื้อที่ไม่แสดงอาการเข้าไปด้วยแล้ว อัตราการเสียชีวิตก็อาจจะต่ำลงกว่านี้ได้

3. อาการของโรค

แม้ว่าอาการเจ็บป่วยหลัก ๆ ของผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ คือ มีไข้ และไอแห้ง แต่ก็มีอาการอื่น ๆ ที่ควรระวังด้วย ได้แก่ เจ็บคอ ปวดหัว ท้องเสีย อาการเหล่านี้มีรายงานในผู้ป่วยบางราย รวมถึงอาการสูญเสียความสามารถในการได้กลิ่นของจมูก นอกจากนี้ผู้ป่วยบางราย ยังมีอาการที่ไม่รุนแรงมากนัก มีอาการคล้ายเป็นหวัด เช่น น้ำมูกไหล จาม

affaliate-2

งานวิจัยหลายชิ้นชี้ว่า มีความเป็นไปได้ที่อาการเหล่านี้จะเป็นอาการของผู้ป่วยโควิด-19 และผู้ป่วยก็อาจไม่รู้ตัวเลยด้วยซ้ำว่าพวกเขามีเชื้ออยู่ในร่างกายแล้ว

โควิด

อิตาลีออกคำสั่งฉุกเฉินห้ามจัดพิธีศพขณะที่ยอดผู้เสียชีวิตรายวันพุ่งเฉียดพันราย

4. เด็กช่วยแพร่เชื้อนี้หรือ

กลุ่มเด็กเป็นกลุ่มที่สามารถติดเชื้อไวรัสนี้ได้เช่นกัน ส่วนมากมักมีอาการไม่รุนแรงและมีจำนวนผู้เสียชีวิตน้อยเมื่อเทียบกับกลุ่มผู้สูงอายุ

โดยปกติแล้วผู้ติดเชื้อที่เป็นเด็กมักเป็นผู้แพร่กระจายเชื้อให้กับคนอื่นจำนวนมากหรือที่เรียกว่าซูเปอร์สเปรดเดอร์ นั่นเป็นเพราะว่าเด็กคลุกคลีอยู่กับคนจำนวนมาก เช่น ในสนามเด็กเล่น แต่กับโรคโควิด-19 ยังไม่เป็นที่แน่ชัดว่า การแพร่กระจายจากเด็กเกิดขึ้นมากน้อยแค่ไหน

5. ไวรัสโคโรนา 2019 มาจากไหนกันแน่

เริ่มปรากฏการระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ครั้งแรกที่เมืองอู่ฮั่น มณฑลหูเป่ย์ ประเทศจีน เมื่อปลายปี 2019 ผู้ติดเชื้อกลุ่มใหญ่คือกลุ่มที่ติดจากตลาดซื้อขายสัตว์

ก่อนหน้านี้มีรายงานออกมาว่าเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 เริ่มต้นจากค้างคาว และเชื้อก็ติดต่อไปยัง “สัตว์อีกชนิดหนึ่ง” ก่อนติดต่อมาสู่มนุษย์ ซึ่งตอนนี้ปริศนายังคงอยู่ทีสัตว์ตัวกลางที่นำเชื้อมาสู่มนุษย์ และอาจเป็นแหล่งของการแพร่ไวรัสได้อีกทางหนึ่ง

6. เมื่อถึงฤดูร้อนผู้ติดเชื้อจะลดลงไหม

โรคไข้หวัดและโรคหวัดทั่วไป เป็นโรคที่เกิดขึ้นเป็นปกติในช่วงฤดูหนาวมากกว่าฤดูร้อน แต่สำหรับโควิด-19 นั้นยังไม่แน่ชัดว่าอากาศที่อุ่นขึ้นจะช่วยลดการแพร่ระบาดได้หรือไม่

ที่ปรึกษาด้านวิทยาศาสตร์ของรัฐบาลแห่งสหราชอาณาจักร ได้ออกมาเตือนเกี่ยวกับปัจจัยจากฤดูกาลและสภาพอากาศ หากแม้นว่ามีผลจริง พวกเขาคิดว่ามีแนวโน้มที่จะ “มีผลน้อยมาก” เมื่อเทียบกับโรคไข้หวัด หากจำนวนผู้ติดเชื้อลดลงจำนวนมากในฤดูร้อน ก็ต้องระวังว่าในฤดูหนาวยอดผู้ติดเชื้อจะกลับมาพุ่งสูงขึ้นอีก เมื่อถึงเวลานั้นโรงพยาบาลก็ต้องรับมือกับผู้ป่วยที่ล้นทะลักพร้อม ๆ กับดูแลผู้ป่วยที่ติดเชื้อไวรัสที่ระบาดในฤดูหนาว

7. ทำไมผู้ป่วยบางคนอาการรุนแรงกว่าคนอื่น

ผู้ป่วยโควิด-19 ส่วนมากมีอาการไม่รุนแรง มีเพียง 20 เปอร์เซ็นต์ที่อาการพัฒนาไปถึงขั้นรุนแรงหนัก ที่เป็นเช่นนี้เพราะว่าระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายแต่ละคนมีผลต่อระดับความรุนแรงแตกต่าง นอกจากนี้ยังมีปัจจัยทางพันธุกรรม หากการแพทย์สามารถไขคำตอบเรื่องนี้ได้จะช่วยลดอัตราการมีผู้ป่วยหนักลงได้

8. ภูมิคุ้มกันของร่างกายจะต้านได้นานแค่ไหน และการติดเชื้อรอบที่สองเป็นไปได้หรือไม่

มีการถกเถียงในเรื่องนี้เช่นกัน แต่ยังคงมีหลักฐานน้อยมากที่ชี้ว่าภูมิคุ้มกันของร่างกายต้านทานไวรัสได้แค่ไหน

ผู้ป่วยจะสามารถสร้างการตอบสนองของภูมิคุ้มกันขึ้นมาได้เองหากภูมิคุ้มกันต่อสู้กับไวรัสได้สำเร็จ แต่จากการศึกษานับแต่เริ่มการระบาดยังคงไม่มีข้อมูลเพียงพอที่จะตอบได้ ส่วนภาวะการติดเชื้อรอบสอง อาจเป็นไปได้ว่ามีสาเหตุจากการผลตรวจที่ไม่ถูกต้องว่าผู้ป่วยรายนั้นไม่มีเชื้อไวรัสอยู่ในร่างกายแล้ว

หมอคนไข้

9. ไวรัสจะกลายพันธุ์หรือไม่

โดยธรรมชาติแล้วไวรัสแต่ละชนิดมีการกลายพันธุ์อยู่ตลอดเวลา แต่โดยมากแล้วการเปลี่ยนแปลงของรหัสพันธุกรรมไม่มีผลต่อความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญต่อไวรัส

กฎทั่วไปคือ ในระยะยาวคุณคาดว่าไวรัสจะวิวัฒนาการไปเป็นไวรัสที่มีฤทธิ์คร่าชีวิตคนได้น้อยลง แต่ไม่มีอะไรการันตีการคาดการณ์นี้

ความกังวลต่อเรื่องนี้คือ หากไวรัสกลายพันธุ์นระบบภูมิคุ้มกันร่างกายไม่สามารถจดจำไวรัสตัวนั้นได้อีก และวัคซีนที่มีอยู่ก็อาจไม่สามารถป้องกันไวรัสชนิดนั้นได้อีกต่อไป ดังที่เกิดกับไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ต่าง ๆ

ขอบคุณที่มา: ข่าวสด

affaliate-2

error: Content is protected !!