เป็นที่ชื่นชมทั่วโลกไปแล้วสำหรับการควบคุมโควิดของไทยเรา สำนักข่าวรอยเตอร์ได้จัดทำรายงานถึงความสำเร็จในการควบคุมโรคระบาดจากเชื้อโคโร นา ไวรัส สายพันธุ์ใหม่ โดยยกย่องอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน หรือ อสม. ว่า เป็นส่วนสำคัญที่ทำให้ไทยสามารถควบคุมการระบา ดของโ รคได้ดี
หัวข้อรายงานข่าวชิ้นนั้น เขียนว่า “Thailand’s one million health volunteers hailed as coronavirus heroes” เล่าเรื่องราวผ่านคำบอกเล่าของ สุรินทร์ มากระดี อสม. วัย 77 ปี จากหมู่บ้านศาลาแดง จ.อ่างทอง ที่ออกเคาะประตูบ้านทุกหลังในหมู่บ้านด้วยมอเตอร์ไซค์คู่ชีพ
สุรินทร์บอกว่า งานของเธอคือการออกไปวัดไข้และสื่อสารกับชาวบ้านถึงสถานการณ์ความรุนแรงของโควิด-19 และให้คำแนะนำเรื่องการปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันตนเองจากการติดเชื้อไวรัส“ฉันคิดว่า ถ้าไม่มีการให้ความรู้คนในหมู่บ้าน พวกเขาก็จะไม่เข้าใจถึงความเสี่ยงที่จะติดเชื้อ ไม่รู้ระดับความรุ นแรงของโร ค และที่สำคัญคือ ไม่รู้ว่าจะป้องกันตัวเองได้ยังไง” อสม.บ้านศาลาแดงบอกกับนักข่าวรอยเตอร์
สุรินทร์ หรือคุณป้าสุรินทร์ของชาวบ้านศาลาแดง บอกว่า เธอเป็น อสม.มา 38 ปีแล้ว ในช่วงการระบาดของโควิ ด-19 ความรับผิดชอบของเธอคือ การมอนิเตอร์หรือคอยตรวจสอบคนในหมู่บ้านที่เดินทางกลับมาจากที่อื่นและต้องเข้าสู่การกักตัวหรือ quarantine เป็นเวลา 14 วัน
“ในฐานะ อสม.ฉันต้องให้ความรู้กับคนที่เข้ารับการกักตัว 14 วัน ถึงการกิน อยู่ และทำความเข้าใจกับการที่ต้องใช้ชีวิตแยกออกจากครอบครัวและสมาชิกในครอบครัว นาน 2 สัปดาห์” ป้าสุรินทร์บอก พร้อมกับย้ำว่า เธอภูมิใจกับการเป็น อสม.มาก และแม้จะอายุล่วงเลยถึง 77 ปีแล้ว ก็จะทำหน้าที่นี้ไปจนกว่าจะทำไม่ไหว
ดร.ชาติชาย มุกสง อาจารย์ประจำภาควิชาประวัติศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ บอกกับรอยเตอร์ ว่า อสม.เกิดขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2520 หรือประมาณ 43 ปีที่แล้ว จนถึงปัจจุบันทั้งประเทศมี อสม.อยู่ราว 1,040,000 คน อาสาสมัครเหล่านี้ เป็นส่วนหนึ่งที่สนับสนุนงานของรัฐบาลในการช่วยเหลือชุมชนในชนบท โดยได้รับการอบรมเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพขั้นพื้นฐาน การวินิจฉัยโรคเบื้องต้น ในกรณีที่หมู่บ้านอยู่ห่างไกลความเจริญจากโรงพยาบาล“อสม. เปรียบเสมือนด่านหน้าของการดูแลชุมชนในเรื่องสุขภาพ ซึ่งสำคัญมาก เพราะถ้าชาวบ้านมีความรู้ในเรื่องการดูแลสุขภาพตนเอง คนป่วยก็จะน้อยลง ช่วยลดการใช้ทรัพยากรด้านสาธารณสุขที่มีอยู่อย่างจำกัดในระบบสุขภาพลงได้” ดร.ชาติชายบอก
อสม.หรืออาสาสมัครสาธารณสุข ประจำหมู่บ้าน ได้แสดงให้เห็นถึงศักยภาพในการทำงานอย่างเข้มแข็งในสถานการณ์การระบาดของโร ค มาแล้วหลายครั้ง โดยเฉพาะการร ะบ าดของไข้หวัดนก H5 N1 ในปี 2543 มาถึงการระบาดของโค โรนา ไวรั ส สายพันธุ์ใหม่ครั้งนี้ จนได้รับการชื่นชมจากองค์การอนามัยโลก ว่า เป็นฮีโร่ไร้เสียง ผู้อยู่เบื้องหลังความสำเร็จในการต่อสู้กับโ คโร นา ไวรั ส นพ.แดเนียล เคอร์เทสซ์ (Dr.Daniel Kertesz) ผู้แทนองค์การอนามัยโล กประจำประเทศไทย บอกว่า อสม. คือฮีโร่ ที่ทำงานสนับสนุนการป้องกันโร ค เก็บข้อมูล ติดตามผลและรายงานสถานการณ์โควิ ด อย่างทันท่วงที ทำให้ประเทศไทยสามารถที่จะควบคุ มโร คได้อย่างมีประสิทธิภาพอสม.ในที่ไกลๆหลายแห่งเป็นกำลังสำคัญอย่างมาก ที่ช่วยเหลือบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข ในการคัดกรองผู้ป่วย อย่างเช่น ทัศณี วันเที่ยง อสม.บ้านคำสมบูรณ์ ต.บึงโขงหลง จ.บึงกาฬ
เธอบอกว่า เป็น อสม.มา 9 ปีแล้ว ภารกิจในช่วงที่โร ค โควิค กำลังระบาด อสม.เราจะออกปฏิบัติหน้าที่ช่วยตรวจคัดกรองประชาชนที่มาจากพื้นที่เสี่ยง ตรวจวัดไ ข้ ให้คำแนะนำในการปฏิบัติตัว ตลอดจนข้อห้ามต่างๆในทุกๆ 2 วัน“สิ่งที่อยากให้รัฐบาลคิดถึงพวกเราก็คือ การจัดหาอุปกรณ์ป้องกัน ทั้งหน้ากากอน ามัย ชุด P PE ซึ่งบางทีก็มาไม่ถึง อสม. ทั้งๆที่ทุกคนก็ต้องออกไปทำงานที่เสี่ยงไม่น้อยไปกว่าบุคลากรทางการแพทย์เหมือนกัน” ทัศณี ฝากถึงผู้ใหญ่ในบ้านเมือง เช่นเดียวกับ สีตีรอเมาะ เจ๊ะยอ วัย 62 ปี อาสาสมัครสาธารณสุขประจำชุมชนบ้านหัวสะพานสะเตง ต.สะเตง อ.เมือง จ.ยะลา เป็น อสม.มานานถึง 28 ปีแล้ว โดยรับผิดชอบดูแลพื้นที่ในชุมชนบ้านหัวสะพานสะเตง ประมาณกว่า300 ครัวเรือน
“ถามว่าเหนื่อยมั้ย ก็เหนื่อยนะ แต่เป็นงานที่ภาคภูมิใจ ไม่เคยท้อ ทุกวันนี้ทำด้วยใจ ด้วยจิตอาสา” สีตีรอเมาะบอก งานของเธอคือ ออกเยี่ยมชาวบ้านทุกวัน เพื่อสอบถามถึงปัญหาสุขภาพ ปัญหาด้านสวัสดิการ ซึ่งเธอบอกว่า ชาวบ้านชอบที่จะคุยกับ อสม.เพราะเป็นกันเองมากกว่าไปสอบถามที่โรงพยาบาล ส่วนงานอื่นๆก็คงเหมือนกับ อสม.ทุกที่ โดยเฉพาะในช่วงโค วิด หลักๆก็คือ ออกวัดไข้ ให้คำแนะนำการป้องกันตนเอง ดูแลตนเอง
สุดท้าย เกสร ประทุมวรรณ อสม.ชุมชนหลังวัดเมือง ต.สะเตง เป็น อสม.มา 18 ปี บอกว่า อสม.ทำได้ทุกอย่างเพราะเป็นบุคคลที่อยู่ใกล้ชิดประชาชนมากที่สุด ยิ่งตอนนี้ ยิ่งต้องทำงานอย่างหนัก อยากฝากไปถึงรัฐบาลให้ความสำคัญต่อ อสม. เรื่องเดียว คือ การดูแลในเรื่องของสวัสดิการ เช่น การประกันหลักสุขภาพที่ดีให้กับ อสม. การประกันชีวิตหากเกิดอันตรายจากการปฏิบัติหน้าที่ จะเป็นขวัญและกำลังใจอย่างมาก.