วันที่ 30 มีนาคม เป็นวันแรกที่ศูนย์บริการสุขภาพแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดให้บริการตรวจหา เชื้อไวรัส COVID 19 วยชุดตรวจ Chula COVID 19 Strip Test หรือชุดตรวจผลเลือดเพื่อคัดกรองเบื้องต้นว่า มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ COVID 19 หรือไม่
โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ซึ่งทางศูนย์ฯ ได้จัดเตรียมลานจอดรถชั้น 2 ของอาคารจามจุรี 9 ไว้สำหรับเป็นสถานที่ตรวจเชื้อ พร้อมเก้าอี้ 50 ตัว สำหรับผู้มาตรวจหาเชื้อ 50 คน ซึ่งได้ตั้งห่างกันตามหลัก Social Distancing เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อและอนุญาตไม่ให้ผู้ที่เข้ามารับการตรวจ ซึ่งผ่านกระประเมินแล้วว่าเป็นกลุ่มเสี่ยงสูงเข้าไปภายในอาคารโดยเด็ดขาด แต่บรรยากาศค่อนข้างเงียบเหงา
เนื่องจากผู้ที่จะเดินทางเข้ามารับการตรวจหาเชื้อไวรัสโควิด 19 ได้ จะต้องเป็นนิสิตหรือบุคคลากรของจุฬา รวมถึงประชาชนที่ได้ลงทะเบียนไว้ล่วงหน้าก่อนแล้ว ซึ่งจะได้รับการนัดหมายวัน-เวลา-สถานที่อย่างชัดเจนจากเจ้าหน้าที่
นพ สัณฐิติ ดะห์ลัน ผู้อำนวยการศูนย์บริการแห่งสุขภาพจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย บอกว่า ชุดตรวจ Chula COVID 19 Strip Test เป็นชุดทดสอบที่คิดค้นโดยอาจารย์คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ การทดสอบอาศัยหลักการทางภูมิคุ้มกันร่างกาย Serology Test ซึ่งเป็นการตรวจหาแอนติบอดี IgG IgM ในเลือด ซีรัม หรือพลาสมา โดยใช้วิธีทดสอบด้วยการเจาะเลือดจากปลายนิ้ว ทำให้การตรวจวินิจฉัยมีความปลอดภัย ไม่ต้องใกล้ชิดกับสารคัดหลั่งจากทางเดินหายใจ ใช้เวลาเพียง 10 นาทีเท่านั้นก็จะรู้ผลตรวจทันที
อย่างไรก็ตาม Chula COVID 19 Strip Test ไม่ได้นำมาทดแทนการตรวจเชื้อ covid 19 ด้วยวิธีมาตรฐาน แต่หวังว่าชุดทดสอบนี้จะช่วยแบ่งเบาจำนวนคนไข้ที่ต้องมารับบริการตรวจที่โรงพยาบาลจำนวนมาก ซึ่งหากผลตรวจออกมาเป็นลบ ผู้เข้ารับการตรวจจะยังคงต้องกลับบ้านไปกักตัวดูอการต่อจนกว่าจะครบ 14 วัน แต่หากผลตรวจเป็นบวก ก็จะมีการส่งตัวไปตรวจหาเชื้อจากโพรงจมูกและคอต่อที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ เพื่อให้มั่นใจว่าผู้เข้ามารับการตรวจมีเชื้อไวรัสโควิด 19 จริง
สำหรับผู้สนใจรับการตรวจหาเชื้อไวรัสโควิด 19 ด้วยชุดตรวจ Chula COVID 19 Strip Test สามารถลงทะเบียนจองคิวล่วงหน้าได้ โดยหากเป็นนิสิตหรือบุคลากรของจุฬาฯ จะต้องลงทะเบียนผ่านเว็ปไซต์ภายในของจุฬาฯ ส่วนประชาชนทั่วไปให้ลงทะเบียนผ่านทางเว็บไซต์ www covid19 thaitechstartup หรือแอพพลิเคชั่น เป็ดไทยสู้ภัย โดยต้องกรอกประวัติส่วนตัว เพื่อประเมินความเสี่ยง เช่น ประวัติการเดินทางกลับจากต่างประเทศ และประวัติสุขภาพ จากนั้น 2 ถึง 3 วัน จะมีเจ้าหน้าที่โทรมาซักประวัติเพิ่มเติม หากเข้าข่ายเป็นกลุ่มเสี่ยง ก็จะได้รับการนัดหมายวันและเวลาให้เข้ามาตรวจหาเชื้อโควิด 19 ที่อาคารศูนย์บริการสุขภาพแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เฉลี่ยวันละ 100 คน แบ่งเป็นนิสิต บุคลากรของจุฬาฯ 50 คน และประชาชนทั่วไป 50 คน
ขอบคุณ one31